FINANCE (การเงิน)

ซื้อรถหรูในนามบริษัท สด ผ่อน บอลลูน แบบไหนดีกว่ากัน ??



สำหรับปัญหานี้คงเป็นปัญหาคาใจใครหลายคน ว่าอยากซื้อรถหรู เพื่อใช้ในกิจการ ซื้อแบบไหนดี ซื้อเงินสดดีมั้ย หรือผ่อนดี หรือทำบอลลูนดี อย่างไหนดีกว่ากัน??

กรณีซื้อสด

ข้อดีคือ

 1.ได้รถในราคาเงินสด ตามป้ายราคา (หรือตามส่วนลดที่ต่อรองได้ในแต่ละศูนย์)

2.ไม่มีภาระดอกเบี้ย

3.ไม่มีภาระทางการเงินในอนาคต และวงเงินเครดิตไม่ลด

ข้อเสียคือ

1.ต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่

2.ไม่ได้โปรโมชั่น!! หรือ ส่วน ของแถม 

กรณีซื้อผ่อน

ข้อดีคือ

1.ไม่ต้องเสียเงินก้อนใหญ่ในคราวเดียว

2.ได้รถมาใช้ก่อน เพียงแค่วางเงินดาวน์

3.อาจจะได้ส่วนลด หรือ ของของสมนาคุณ จากบริษัท (แล้วแต่ข้อเสนอขอแต่ละยี่ห้อ)

ข้อเสียคือ

1.เสียดอกเบี้ย หมายความว่าเราจะต้องซื้อรถในราคาที่สูงขึ้น เนื่องจากดอกเบี้ย

2.วงเงินเครดิตลดลง

3.ทำให้มีภาระหนี้สินเกิดขึ้นทั้งปัจจุบันและในอนาคต

**กรณีซื้อรถเพื่อใช้ในกิจการ แบบเงินผ่อน 

แต่ก็ต้องพิจารณาว่า เงินก้อนที่มี สามารถนำไปทำมาหาได้ หรือสร้างผลตอบแทนได้ สูงกว่า อัตราดอกเบี้ย เงินผ่อนจากการซื้อรถหรือไม่

เช่น บริษัทสินเชื่อรถยนต์ เสนออัตราดอกเบี้ยเงินผ่อนชำระ 2.49% ต่อปี แต่ถ้าเราเอาเงินที่จะจ่ายซื้อรถด้วยเงินก้อนไปทำมาหาได้

ซื้อสินค้าและเอาไปขายได้กำไร 10%  นอกจากว่าเงินเหลือไม่ได้มีโครงการลงทุนใดๆ ฝากไว้ในธนาคารอัตราดอกเบี้ยไม่ถึง 1% แบบนี้ ก็แนะนำเป็นซื้อเงินสดดีกว่า**

 

กรณีซื้อแบบบอลลูน  วิธีนี้เหมาะกับ การซื้อรถในนามนิติบุคคล  เพราะจะมีเรื่องของการหักค่าใช้จ่ายของกิจการเข้ามาเกี่ยว่ข้อง 

ข้อดีคือ

1.ไม่ต้องจ่ายเงินก้อน

2.สามารถหักค่าใช้จ่ายทางภาษีได้มากขึ้น กรณีที่รถมีมูลค่าเกินกว่า 1 ล้านบาท กล่าวคือเช่าซื้อแบบบอลลูน
จะทำเสมือนว่า
เป็นการเช่ารถมาใช้ก่อนในช่วงระยะเวลาตามสัญญา ซึ่งกิจการก็จะลงค่าเช่าเป็นค่าใช้จ่ายได้ตามกฎหมาย
เมื่อถึงกำหนดตามสัญญา เราจะสามารถเลือกได้ว่าจะซื้อรถขึ้นมาในราคาที่กำหนด หรือจะไม่ซื้อรถขึ้นมาก็ได้ ซึ่งถ้ากิจการซื้อรถมา
กิจการก็จะสามารถนำมูลค่ารถมาหัก ค่าใช้จ่ายต่อได้อีก
5 ปี ผ่านทางค่าเสื่อมราคาได้ปีละไม่เกิน 2 แสนบาท

3. การันตีมูลค่ารถ ณ ตอนหมดสัญญาเช่าซื้อแบบบอลลูน เพราะรถจะมีมูลค่าตามที่ระบุในสัญญา

ข้อเสียคือ

1.ดอกเบี้ยของการผ่อนแบบบอลลูนจะสูงกว่าการผ่อนแบบเช่าซื้อธรรมดา

2. ซื้อรถในราคาที่สูง

 

สรุป

ซื้อสด : ได้รถในราคาที่ถูก เพราะไม่มีดอกเบี้ย แต่ต้องจ่ายเงินก้อน

ซื้อผ่อนธรรมดา : ต้องซื้อในราคาที่สูงขึ้น เพราะดอกเบี้ย แต่ไม่ต้องจ่ายเงินก้อน

ซื้อผ่อนแบบบอลลูน : ซื้อรถในราคาที่สูงกว่าในภาพรวม แต่ได้ประโยชน์ทางภาษี คือสามารถลงค่าใช้จ่ายได้สูงขึ้น เพราะลงทั้งในช่วงที่เป็นค่าเช่า
หลังจากหมดสัญญา ก็สมารถนำมาลงเป็นค่าใช้จ่ายผ่านทางค่าเสื่อมราคาได้

ซื้อรถในนามบริษัท หรือ บุคคล แบบไหนดีกว่ากัน ??

 

กรณีซื้อรถในนามบริษัท

ข้อดีคือ

1.รถในนามบริษัท สามารถหัก ค่าเสื่อมราคาได้สูงสุดไม่เกินปีละ 2 แสนบาท

(รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคน ค่าเสื่อมราคาจะคิดจากมูลค่าต้นทุนเฉพาะส่วนที่ไม่เกินหนึ่งล้านบาท)

2  ค่าน้ำมัน และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับรถ เช่น ค่าซ่อมแซม หรือ ค่า maintenance รถก็สามารถลงเป็นค่าใช้จ่ายบริษัทได้

3. ค่าเบี้ยประกันภัยรถสามารถลงเป็นค่าใช้จ่ายได้

ข้อเสียคือ

1.รถมาใช้ในกิจการ ก็ไม่ควรจะนำมาใช้ในกิจกรรมอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ

2.ภาษีซื้อไม่สามารถนำมาเคลมภาษีซื้อได้ แต่ลงเป็น ค่าใช้จ่ายของกิจการได้

3.เวลาขายมีกำไร ต้องลงเป็นรายได้ของกิจการ

4.เวลาขาย ถ้าเป็นกิจการจดทะเบียน VAT ต้องยื่นภาษีขายด้วย

 

กรณีซื้อรถในนามบริษัท

ข้อดีคือ

1.ค่าเบี้ยประกัน จะถูกกว่านามบริษัท

2.ค่าภาษีรถยนต์  จะถูกกว่านามบริษัท

3.สามารถนำรถไปใช้ได้ตามความต้องการ

4.เวลาขายไม่ต้องเสีย VAT ขาย

5.กำไรที่เกิดขึ้นไม่ต้องรวมเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีบุคคลธรรมดา

ข้อเสียคือ

1. ไม่สามารถนำมูลค่ารถมาหักเป็นค่าเสื่อมราคาได้

2. ค่าใช้จ่ายของรถไม่สามารถนำมาลงเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้ทั้งหมดอาจจะลงได้บางอย่างแต่จะต้องมีเอกสารเพิ่มเติม

3.ค่าเบี้ยประกัน ค่าภาษีรถยนต์ ก็ไม่สามารถลงเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้คือ ค่าใช้จ่ายใดๆที่เกี่ยวข้องกับรถ ก็ไม่สามารถนำ

มาลงเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้ ทำให้ภาษีของกิจการไม่ได้

 

 

 

 

งบการเงิน เรื่องง่ายๆที่ผู้ประกอบการต้องรู้ !!

 

งบการเงินมีหลายประเภท แต่ที่ธนาคาร มักจะขอหลักๆ คืองบแสดงฐานะทางการเงิน (งบดุล) และงบกำไรขาดทุน

1.งบแสดงฐานะทางการเงิน คืองบที่แสดงว่า ณ เวลาหนึ่ง กิจการมีฐานะเป็นยังไง ฐานะดีมั้ย มีเงิน หรือมีสินทรัพย์แค่ไหนหรือมีหนี้มากน้อยเพียงใด
รวมถึงจากอดีต
ที่ผ่านมากิจการมีผลประกอบการดีหรือไม่ดี สิ่งเหล่านี้จะบอกไว้ในงบแสดงฐานะทางการเงินและทางธนาารก็จะใช้ข้อมูลในงบแสดง
ฐานะทางการเงิน ประกอบการพิจารณา
ฐานะของกิจการ และวิเคราะห์สัดส่วนของสินทรัพย์กับหนี้สิน และประเมินความสามารถในการจ่าย
ชำระหนี้ของกิจการได้ด้วย

     ในส่วนของงบดุล จะทำให้เราได้เห็นผลประกอบการของอดีต จนถึง ปัจจุบันได้ เพราะข้อมูลต่างๆ จะแสดงเป็นยอดสะสม
จุดสำคัญ ที่อยากชี้ให้เห็น คือ กำไร(ขาดทุน) สะสมในส่วนของตรงนี้

ผู้ประกอบการบางคน ก็สงสัยว่ามีขาดทุนสะสมขอกู้สินเชื่อได้ไหม => ขอได้นะคะ 
แต่งบการเงินในปีที่ขอสินเชื่อ ก็ควรจะต้องมีกำไร พอสมควรเพียงพอที่จะสามารถชำระหนี้ได้ในระยะเวลาที่ขอสินเชื่อ

2.งบกำไรขาดทุน เป็นตัวที่บ่งบอกว่า ในแต่ละปี กิจการมียอดขายหลักเป็นอย่างไร เติบโตขึ้นหรือไม่ ตลอดจนสุดท้ายกิจการมีกำไรที่ได้จากการทำธุรกิจ
มากน้อยเพียงใด
ซึ่งธนาคารจะใช้ในการประเมินความสามารถในการจ่ายชำระหนี้ในแต่ละปีถ้ากิจการมีกำไรเพียงพอที่จะจ่ายชำระคืนเงินกู้ได้ โอกาสที่ธนาคาร
จะปล่อยเงินกู้ให้กิจการก็มีสูง


จุดที่ต้องระมัดระวังเกี่ยวกับงบกำไรขาดทุน คือ

    – รายได้หลักของธุรกิจ จำเป็นจะต้องมีความต่อเนื่อง และมีหลักฐานความต้องการจากลูกค้าที่น่าเชื่อถือ และสินค้าที่ผลิต/จำหน่ายหรือธุรกิจบริการ
ควรจะมาจากลูกค้าประจำและลูกค้าทั่วไป ในสัดส่วนที่น่าเชื่อถือและสอดคล้องกับตัวเลขในรายได้รวม

    –  ค่าใช้จ่ายในการขาย จะเป็นตัวเลขจากกระบวนการผลิต กำลังการผลิต วัตถุดิบ ควรจะมีตัวเลขไม่มากเกินไป หรือสามารถอธิบายด้วยหลักฐานใน
กระบวนการผลิตได้อย่างชัดเจน

    –  ค่าใช้จ่ายในการบริหาร  จะเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายเงินเดือน/ค่าคอมมิชชั่นพนักงานเป็นหลัก และค่าใช้จ่ายเงินเดือนของผู้บริหารทั้งหมด 

ข้อระมัดระวัง : อย่านำรายได้ไปใช้ส่วนตัวและมาบันทึกในค่าใช้จ่ายในการบริหาร เพื่อนำเงินสดออกจากบริษัทแบบผิดวัตถุประสงค์ 

      นอกจากงบแสดงฐานะทางการเงิน และงบกำไรขาดทุนแล้ว มีอีกงบหนึ่งที่ธนาคาร อาจจะขอ คือ งบกระแสเงินสด ซึ่งบางกิจการมีแต่บางกิจการอาจ
จะไม่ได้มีการจัดทำไว้
ซึ่ง งบกระแสเงินสด ก็มีความสำคัญอยู่เหมือนกัน คือ เป็นเครื่องมือที่จะใช้บอกนิสัยการบริหารจัดการของบริษัทได้อย่างดี 

 

ข้อระมัดระวัง : เจ้าหน้าที่สินเชื่อที่มีประสบการณ์ สามารถอ่านลักษณะการบริหารธุรกิจ การจัดการด้านการเงิน นิสัยของผู้บริหารได้จากงบกระแสเงินสดได้เลย
และถ้าเจ้าของกิจการพูดไม่ตรงกับงบการเงิน เขาก็จะมีการพิจารณาที่เข้มข้นมากขึ้น หรือขอเอกสารเยอะมากขึ้น


งบกระแสเงินสดจะประกอบด้วยกิจกรรม 3 กิจกรรมคือ

- กิจกรรมการดำเนินงาน ซึ่งก็คือกิจกรรมในการได้มา หรือใช้ไปของเงินสดจากการดำเนินธุรกิจ

- กิจกรรมการลงทุน คือกิจกรรมที่ได้มา หรือใช้จ่ายในกิจกรรมที่เกี่ยวกับการลงทุน เช่น การซื้อเครื่องจักร เป็นต้น เพื่อประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุน
นั้นๆ ในอนาคต

- กิจกรรมการจัดหาเงิน คือกิจกรรมที่ใช้เพื่อจัดหาเงินมาใช้ในกิจการ เช่นการกู้ยืมเงิน หรือการคืนเงินกู้

   การที่ธนาคารวิเคราะห์กิจกรรมทั้ง 3 อย่างนี้เพื่อวิเคราะห์ว่ากิจการมีเงินสดที่ได้มาจากกิจกรรมไหนเป็นหลัก และมีการนำเงินสดใช้ไปกับกิจกรรมไหนบ้าง
เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ถึงความสามารถในการชำระเงินกู้ในอนาคต

 

โอนผิดบัญชี ทำยังไงดี ให้ได้เงินคืน !! 

การทำธุรกรรมการเงินผิดพลาดที่พบเจอกันได้บ่อยคือ “การโอนเงินผิดบัญชี” ซึ่งมีที่มาจากหลายสาเหตุ เช่น การใส่เลขบัญชีไม่ถูกต้อง (กรอกตัวเลขสลับกัน กรอกไม่ครบ) หรืออาจเกิดจากการใส่เลขบัญชีผิดช่องระหว่างช่องโอนเงินผ่านเลขบัญชีกับช่องโอนเงินผ่านหมายเลขพร้อมเพย์ หรือใส่เลขที่บัญชีถูก แต่เลือกธนาคารที่จะโอนผิด รวมถึงความรีบร้อนในการทำรายการจนลืมตรวจสอบชื่อบัญชีปลายทางก่อนกดโอน  ดังนั้นเราจึงสรุปขั้นตอนที่ทำให้ได้เงินคืน ดังนี้

1. ผู้โอนเงินจะต้องติดต่อธนาคารต้นทาง พร้อมกับหลักฐานสำคัญต่างๆ เช่น สลิปการโอน หรือบันทึกหน้าจอการโอนเงินทาง Internet Banking และ Mobile Banking หรือเอกสารเพิ่มเติมตามที่ธนาคารกำหนดเช่น

- ใบคำร้องขอตรวจสอบการโอนเงินผิดบัญชี
- สำเนาบัตรประชาชน
- ใบแจ้งความ / บันทึกประจำวันที่ระบุเหตุการณ์

เพื่อธนาคารจะได้ติดต่ผู้รับโอน มา “เซ็นยินยอม” ให้ธนาคารหักเงินคืน ซึ่งต้องรอคำตอบจากผู้รับโอนด้วย ธนาคารไม่มีอำนาจดึงเงินกลับเข้าบัญชีผู้โอนได้ เว้นแต่ ได้รับการยินยอมจาก ผู้รับโอนผิด เท่านั้น

*กรณีโอนเงินต่างธนาคาร จะมิได้ประสานโดยตรงกับผู้รับโอน แต่จะใช้เวลาประสานธนาคารของผู้รับโอนผิดก่อน


2. กรณีผู้รับโอนยินยอมคืนเงิน : ธนาคารจะโอนเงินคืนเข้าบัญชีผู้โอน

* ค่าธรรมเนียมในการโอนทั้งไปและกลับ ทางผู้โอนอาจต้องรับผิดชอบเอง

 

3. กรณีผู้รับโอนไม่ยินยอมคืนเงิน : ผู้โอนสามารถแจ้งความดำเนินคดีผู้รับโอนผิดได้ ผู้ได้รับโอนผิด มีความผิดทางกฎหมาย หากไม่คืนเงิน โดยคดีมีอายุความ 1 ปี


            อย่างไรก็ตาม วิธีป้องกันปัญหานี้ได้ดีที่สุดก็คือควรตรวจสอบข้อมูลการโอนเงิน  เช่น  ตรวจสอบหมายเลขบัญชีเงินฝาก  ชื่อบัญชีของผู้รับเงิน  
ชื่อธนาคารที่จะโอนเงิน
และจำนวนเงินที่จะโอนให้ถูกต้อง  ก่อนยืนยันการโอนเงินทุกครั้ง!!  




 

 

 

"ช้อปดีมีคืน" กับ "คนละครึ่ง" เลือกแบบไหนดี!!
 

ใครใช้สิทธิ์ช้อปดีมีคืน ได้บ้าง ??
          1. เป็นผู้ที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2563 ที่จะยื่นแบบภาษีในต้นปี 2564
          2. ไม่เป็นผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 
          3. ไม่เป็นผู้ที่ลงทะเบียนในโครงการคนละครึ่ง 
(บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ บัตรคนจน คือ บัตรที่ออกโดยกรมบัญชีกลาง ตามนโยบายของรัฐ ที่จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายบางอย่างเท่านั้น สิทธิที่ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้รับก็คือ วงเงิน 200-300 บาทต่อเดือน ( ใครรายได้มากกว่า 30,000 บาท / ปี ได้วงเงิน 200 บาท ใครรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท / ปี ได้วงเงิน 300 บาท ) ใช้สำหรับนำไปซื้อสินค้าต่าง ๆ ในร้านธงฟ้าประชารัฐ และร้านค้าอื่นๆที่เราสะดวกไปซื้อ)

ลงทะเบียน ช้อปดีมีคืน ได้ที่ไหน ?

               ผู้ใช้สิทธิ “ช้อปดีมีคืน” ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียน เพื่อใช้สิทธิผ่านเว็บไซต์ไหน เพราะสามารถใช้สิทธิช้อปดีมีคืนได้ทันที ด้วยการเริ่มช้อปปิ้ง
ตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563

 

ลดหย่อนภาษีได้เท่าไร ?
   
      สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท แต่ไม่ใช่ว่าจะนำมาลดภาษีได้ทั้งหมด 30,000 บาท  เพราะความจริงแล้วจะลดหย่อนภาษีได้เท่าไรขึ้นอยู่กับรายได้สุทธิของแต่ละคน ซึ่งแต่ละคนไม่เท่ากัน

 

 

สินค้าอะไรลดหย่อนภาษีได้บ้าง ?

          สำหรับสินค้าที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้นั้น จะต้องเป็นสินค้า / บริการ ที่มีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และร้านค้าสามารถออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบได้ ยกเว้น  การซื้อหนังสือ, e-Book หรือสินค้า OTOP  ใช้ใบเสร็จรับเงินที่ระบุชื่อของผู้ซื้อได้
        

หมายหตุ       

ทองคำแท่ง     ไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้ เพราะทองคำแท่งไม่ต้องเสียภาษีVAT                                                                                             

ทองรูปพรรณ  ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เฉพาะ “ค่ากำเหน็จ” เท่านั้น  เพราะตัวทองคำไม่เสียภาษี VAT

 

 

สินค้าอะไรลดหย่อนภาษี ไม่ได้บ้าง ?

  1. ข้าวสาร ผัก – ผลไม้สด เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถือเป็นสินค้าเกษตร ที่ยังไม่ได้แปรรูป ซึ่งได้รับการยกเว้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อยู่แล้ว  จึงนำไปใช้ลดหย่อนภาษีไม่ได้

  2. อาหารสัตว์ เช่น อาหารสุนัข แมว ปลา สุกร ฯลฯ จะบรรจุกระป๋อง ภาชนะ หีบห่อ หรือไม่ก็ตาม จัดเป็นสินค้าที่ได้รับการยกเว้นภาษี VAT  ดังนั้น ไม่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้

  3. การจ่ายเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้ เนื่องจากประกันรถยนต์ มีระยะเวลาคุ้มครอง นอกเหนือช่วง  วันที่ 23 ตุลาคม – 31 ธันวาคม 2563

  4. ทันตกรรม ทำเลสิก ทำศัลยกรรม เข้าคอร์สเสริมความงาม ตรวจสุขภาพ ฯลฯ ค่ารักษาพยาบาลเหล่านี้ได้รับการยกเว้น VAT   จึงไม่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้

  5. บริการที่เสียค่าสมาชิกรายปี เช่น สมาชิกฟิตเนสรายปี หากเป็นการจ่ายรายปี จะไม่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้ เนื่องจากมีระยะเวลาให้บริการนอกเหนือจากช่วงวันที่ 23 ตุลาคม – 31 ธันวาคม 2563

  6. บัตรของขวัญ (Gift Voucher) ใช้ลดหย่อนภาษีไม่ได้ เพราะบัตรของขวัญ ไม่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT

  7. ค่าเทอม และคอร์สเรียนพิเศษต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นของราชการ หรือเอกชน ถือเป็นการให้บริการทางการศึกษาที่ไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม  จึงใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีไม่ได้

 

สินค้า/บริการ ที่ไม่ได้รับสิทธิเข้าร่วมโครงการ มีอะไรบ้าง ?

  1. เหล้า เบียร์ ไวน์
  2. บุหรี่  ยาสูบ
  3. ค่าน้ำมันและก๊าซ ที่ใช้เติมยานพาหนะ
  4. ค่าซื้อรถยนต์ มอเตอร์ไซต์  เรือ
  5. ค่าหนังสือพิมพ์และนิตยสาร   ทั้งรูปเล่มและอิเล็กทรอนิกส์ 
  6. ค่าบริการจัดนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ 
  7. ค่าที่พัก โรงแรม   

ต้องมีหลักฐานอะไรบ้าง ?

  • ผู้ใช้สิทธิ์จะต้องซื้อสินค้ากับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
  • ร้านค้าสามารถออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบได้

กู้เงินยังไงให้ผ่านฉลุย!! Ep 2

 

    เมื่อกิจการต้องการเงินเพื่อมาใช้ในกิจการ ทางเลือกแรกๆ ที่ผู้ประกอบการใช้คือการกู้จากธนาคารพาณิชย์ ทีนี้เราจะมาดูกันว่า ทำอย่างไร ที่จะสามารถกู้เงิน
ได้โดยที่เราไม่เสียโอกาส บางครั้งเราอาจจะเสียโอกาส ทั้งๆ ที่กิจการเรามีคุณสมบัติที่เพียงพอ

1. วัตถุประสงค์ในการใช้เงิน ซึ่งมีการแบ่งแยกวัตถุประสงค์หลายแบบ แต่เข้าใจง่ายๆ คือตามระยะเวลานะคะ กล่าวคือเราจะดูก่อนว่า เราต้องการเงินมาใช้เพื่ออะไร
ระยะยาว หรือระยะสั้น

- กู้เพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการ อย่างนี้เรียกว่า เป็นการกู้ระยะสั้น เช่น OD, PN เป็นต้น

- กู้เพื่อลงทุนซื้อเครื่องจักร หรือเพื่อลงทุนสร้างโรงงาน อย่างนี้เรียกว่า เป็นการกู้ระยะยาว อันนี้ก็จะเป็นแบบ long term loan เป็นต้น

ในแต่ละวัตถุประสงค์ก็จะมี product ของทางธนาคารที่แตกต่างกัน อัตราดอกเบี้ยก็จะไม่เท่ากัน ซึ่งเราจะต้องเลือกเพื่อให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการใช้เงิน
ความสามารถในการชำระเงินกู้ และระยเวลาในการชำระคืน

  ที่สำคัญคือ เราต้องไม่นำเงินกู้ไปใช้ผิดประเภท เช่น นำเงินที่ขอ OD หรือ PN ไปลงทุนในการก่อสร้างโรงงาน เป็นต้น เพราะอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เหล่านี้สูง
และวงเงินที่ได้จะได้น้อย ซึ่งจะทำให้เรามีภาระที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยที่สูงกว่าที่ควรจะเป็น เป็นต้น

  หรือไม่ควรเอาเงินกู้ระยะยาวมาใข้ในการหมุนเวียน เพราะจะทำให้เมื่อถึงกำหนดเวลาตามสัญญา เราจะไม่สามารถชำระเงินคืนธนาคารได้ตามกำหนด ด้วยความที่
วงเงินกู้ระยะยาวเป็นวงเงินที่สูง และเราไม่ได้สร้างทรัพย์สินอะไรขึ้นมาเพื่อก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น เมื่อเงินกู้ครบกำหนด กิจการก็จะไม่มีเงินเพียงพอที่จะชำระเงินกู้
และอาจจะทำให้กิจการเสียหายได้ เนื่องจากไม่สามารถชำระคืนเงินกู้ได้ตามสัญญา

2.เข้าใจในธุรกิจของกิจการอย่างถ่องแท้ เพื่อให้เราสามารถประเมินได้ว่ากิจการมีศักยภาพเพียงพอที่จะจ่ายชำระคืนเงินกู้หรือไม่ เมื่อไหร่มีเงินเข้า เมื่อไหร่ต้องใช้เงิน
และเวลาไหนมี

 

3.เลือกรูปแบบในการชำระคืนที่เหมาะสมกับความสามารถของกิจการ เช่น ชำระทุกเดือน เดือนละเท่าๆ กัน และ อาจจะมีบางเดือน เราสามารถชำระได้ในจำนวนเงินมากได้
หรือว่าเราสามารถชำระได้เฉลี่ยๆ เท่ากันทุกเดือน ไปเรื่อยๆ หรือเมื่อมีเงินกู้เกิดขึ้นเราสามารถชำระปิดเงินกู้นั้นได้เลย เป็นต้น

-ถ้าเป็นเงินกู้ระยะยาว เราก็สามารถชำระเป็นงวดๆ และถ้าสามารถจ่ายเงินก้อนได้ในบางเดือน เพื่อลดดอกเบี้ยลง เงินกู้เพื่อการก่อสร้างบางประเภท เราก็สามารถ
ทำเรื่องขอวงเงินไว้ก่อนได้ แล้วเมื่อเราเริ่มก่อสร้างทีละส่วน เราก็สามารถทยอยเอาเงินกู้ออกมาทีละส่วนตามที่ต้องการได้ เพื่อให้กิจการไม่เกิดภาระดอกเบี้ยที่สูง
เกินความจำเป็น

-แต่ถ้าเป็น OD หรือ PN การกู้เงินก็จะเป็นลักษณะเป็นวงเงิน ถ้าไม่ใช้ ก็ไม่มีดอกเบี้ย ซึ่งเป็นการขอวงเงินทีเดียว ลักษณะนี้ อัตราดอกเบี้ยจะค่อนข้างสูง
โดยเฉพาะ OD

    ดังนั้นเราจะต้องพิจารณาด้วยว่า เงินที่เราขอสินเชื่อ เราควรจะขอแบบไหน เพื่อให้กิจการเสียดอกเบี้ยไม่สูงเกินความจำเป็น

 

กู้เงินยังไงให้ผ่านฉลุย!! Ep 1

 

   ช่วงนี้ก็เป็นสถานการณ์ ที่ค่อนข้างยากลำบากสำหรับหลายๆธุรกิจ ที่เป็นช่วง covid หลายๆธุรกิจที่เคยมีสภาพคล่องที่ดี สามารถดำเนินกิจการได้ด้วยเงินทุน
ของเจ้าของหรือของกิจการเอง แต่ช่วงนี้ อาจมีบ้างที่เริ่มติดๆขัดๆ และมองหาแหล่งเงินกู้
    ในวันนี้เราก็เลยมาชวนคุยกัน ในหัวข้อเงินๆทองๆ ว่า ถ้าเราต้องการที่จะกู้เงิน เราก็อยากทราบว่า ทางสถาบันการเงิน หรือ bank เกณฑ์ในการพิจารณา
ปล่อยเงินกู้ ยังไงบ้าง
เพื่อให้เราสามารถไปเตรียมตัวเอง เพื่อให้เข้าเกณฑ์ที่ bank พิจารณาเรียกว่า รู้เขา รู้เรา ถ้าเราจะลงสนาม เพื่อกู้เงินแล้วครั้งนี้ต้องชนะ
และได้รับเงินกู้กลับมา

สำหรับหลักเกณฑ์ที่ bank ใช้พิจารณา หลักๆ คือ หลักที่เราเรียกกันว่า 5Cs
1.Character คือ อุปนิสัยของผู้กู้ ซึ่งก็จะสะท้อนถึงความน่าเชื่อถือของผู้กู้

เหมือนถ้าเราจะให้เพื่อนยืมเงิน หรือให้กู้ เวลาเราให้กู้ไปแล้ว เราก็ต้องการเงินต้น และดอกเบี้ยกลับคืนมาจริงไหมค่ะ ถ้าเพื่อนเราคนที่มายืม มีทีท่าว่าจะเบี้ยว
เราก็คงไม่กล้าให้ยืมเนอะ เช่นกันค่ะ bank ก็ต้องพิจารณาลักษณะนิสัยของลูกค้าเช่นกัน ถ้าลูกค้า มีทีท่าที่ไม่ค่อยซื่อสัตย์ หรือมีความเป็นไปได้ที่จะเบี้ยว
ธนาคารก็คงลำบากนะคะ หนี้สูญก็จะเต็มไปหมด 
ดังนั้นแล้วเมื่อธนาคารจะปล่อยสินเชื่อ ก็จะพิจารณาจากประเด็นดังนี้

กรณีเป็นบุคคล สังเกตุจากประวัติส่วนตัวของผู้กู้ เช่น อายุ ,อาชีพ ,รายได้ ,สถานภาพ เป็นต้น

กรณีเป็นนิติบุคคล สังเกตจากประวัติกิจการและผู้บริหารหลัก เช่น รูปแบบกิจการ,ความเชี่ยวชาญในสายธุรกิจ,อุปนิสัยผู้บริหารหลัก,นโยบายและประวัติการชำระหนี้ เป็นต้น

 ซึ่งในกรณีที่กิจการขอกู้ ธนาคารจะใช้ Character ประเมิน ความเสี่ยงด้านศีลธรรม เช่น ความตั้งใจจริงในทำธุรกิจ ความซื่อสัตย์สุจริต เป็นต้น การตรวจสอบ
ประวัติด้านการเงิน โดยทั่วไปต้องมีการเช็คเครดิตบูโร (Credit Bureau) และ บัญชีดำหรือแบล็กลิสต์ (Blacklist) เพื่อดูประวัติการชำระหนี้ของบุคคลหรือบริษัท
นั้นหากปรากฏอยู่ในบัญชีดังกล่าว บุคคลหรือบริษัทนั้นจะไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้ นอกจากนี้ หากเป็นลูกค้าเดิมของธนาคาร ธนาคารสามารถดู
พฤติกรรมบุคคลหรือบริษัทที่ผ่านมาโดยตรงได้อย่างง่ายๆด้วย

 

2.Capacity คือ ความสามารถในการจ่ายชำระหนี้คืน(ดอกเบี้ยและเงินต้น)ได้ตามกำหนด โดยทั่วไปธนาคารพิจารณาจากรายได้หลัก แนวโน้มการเติบโตของรายได้
ภาระหนี้สินปัจจุบัน และแผนการใช้จ่าย   
โดยในกรณีที่ผู้กู้ คือ บริษัท หรือกิจการ ทาง bank ก็จะพิจารณาความสามรถในการชำระหนี้ของธุรกิจ จากงบการเงิน
และ อัตราส่วนทางการเงิน ของกิจการนั้นๆ

  ในกรณีลูกค้าเดิมของธนาคาร ธนาคารสามารถตรวจสอบ ได้จากบัญชีเงินฝาก บัญชีกระแสรายวัน ถึงความสามารถในการบริหารเงินสดได้ มีเช็คคืน เช็คเด้ง
 ดูกระแสเงินสดเข้า-ออกบัญชี เป็นต้น


3.
Capital คือ เงินทุนหรือสินทรัพย์ผู้กู้ ยิ่งมีสัดส่วนเงินทุนตนเองสูงเท่าไหร่ ธนาคารยิ่งลดความเสี่ยงลงเท่านั้น เพราะเป็นกิจการพึ่งพิงตนเองสูง มั่นใจการใน
การทำธุรกิจ กล้าใช้เงินทุนตนเองมากกว่าที่จะหวังพึ่งพิงเงินกู้จากธนาคารเพียงอย่างเดียว 
ซึ่งทางพิจารณาเบื้องต้นได้จาก อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E ratio)
ซึ่งขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมของธุรกิจนั้นๆ ที่ธนาคารกำหนดเป็นเกณฑ์พิจารณา ธนาคารจะใช้ Capital ประเมินความเสี่ยงด้านการเงินของกิจการได้


4.Collateral คือ หลักประกัน ให้กับธนาคาร เพื่อป้องกันความเสี่ยงของธนาคาร ในกรณีผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด โดยธนาคารจะนำหลักประกันมาขาย
ทอดตลาดได้ หรือในกรณีที่หลักประกันนี้ เป็นบุคคลค้ำประกัน ทางธนาคารก็จะให้ผู้ค้ำประกัน เป็นคนจ่ายชำระหนี้แทนผู้กู้ โดยหลักประกันสามารถเป็นได้ทั้ง
บุคคล (บุคคลค้ำประกัน) 
ทรัพย์สินมีตัวตน เช่น ที่ดิน,สิ่งปลูกสร้าง,เครื่องจักร,สินค้า, ยานพาหนะ ทรัพย์สินทางการเงิน เช่น พันธบัตร,ตั๋วเงิน ,หุ้น, สิทธิการเช่า เป็นต้น

 แต่เอาจริงๆแล้ว ทาง bank เขาก็อยากที่จะได้เงินงวด ตามที่ตกลงมากกว่า เพราะไม่ต้องเหนื่อยเอาไปขายทอดตลาด และในภาวะปัจจุบัน การขายทอดตลาดก็อาจ
เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก

 
5.Conditions คือ เงื่อนไขต่างๆที่มีผลต่อการตัดสินใจอนุมัติสินเชื่อ แบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลัก คือ ปัจจัยภายนอก ,ปัจจัยภายใน ,เงื่อนไขและข้อกำหนด
ของเงินกู้

ขออธิบายดังนี้  ปัจจัยภายนอก เป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ภาวะเศรษฐกิจ ,อัตราแลกเปลี่ยน , ความผันผวนของราคาวัตถุดิบ, การแข่งขันธุรกิจ
ส่วนนี้เจ้าหน้าที่สินเชื่อต้องวิเคราะห์ถึงผลกระทบแก่กิจการผู้กู้ ปัจจัยภายใน ขึ้นอยู่กับการบริหารงานของธนาคารนั้นๆ เช่น นโยบายการปล่อยสินเชื่อ ,
ความเชี่ยวชาญของบุคลากรในการดูแลติดตามลูกค้า เป็นต้น
  เงื่อนไขและข้อกำหนดของเงินกู้ เป็นไปตามความเสี่ยงของเงินกู้นั้น ยิ่งเสี่ยงสูง ย่อมมีเงื่อนไขที่รัดกุม เช่น อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ระยะเวลาผ่อนชำระ ,
ค่างวดผ่อนชำระต่อเดือน เป็นต้น

 

3 สิ่งที่ผู้ประกอบการควรรู้...ถ้าจะให้กิจการกู้ยืมเงิน !!


   กรณีที่บริษัทของเราเกิดมีปัญหาจากสภาวะเศรษฐกิจ ทำให้ไม่มีทุนหมุนเวียนและขาดสภาพคล่อง แต่จะไปขอกู้เงินจากสถาบันการเงินช่วงเวลา
นี้ก็ยากขึ้น ดังนั้นจึงมีผู้ประกอบการหลายๆคนสงสัยนะคะว่าแล้วกรรมการบริษัทจะสามารถนำเงินส่วนตัวออกมาให้บริษัทของตนเองกู้ยืมเพื่อลงทุน
และเสริมสภาพคล่องได้หรือไม่
                                                        คำตอบคือ สามารถทำได้ค่ะ

 

ดังนั้น มีจุดที่ผู้ประกอบการต้องระมัดระวังได้แก่

1. ควรมีการทำสัญญาระหว่างกรรมการกับบริษัทซึ่งตัวสัญญาจะมี 2 รูปแบบ  คือ สัญญากู้ยืมเงิน กับ ตั๋วสัญญาใช้เงิน

 

2. สัญญากู้ยืมเงิน หรือ ตั๋วสัญญาใช้เงิน ต้องติดอากรแสตมป์ 
- สัญญากู้ยืมเงิน  จะต้องติดอากรแสตมป์ 2,000  ละ 1 บาท
- ตั๋วสัญญาใช้เงิน  จะต้องติดอากรแสตมป์ ฉบับละ 3 บาท
อากรแสตมป์ ไม่สามารถติดย้อนหลังได้ เนื่องจากมี QR code ระบุปีที่ออกกำกับไว้


3. อย่าลืม!! ขีดฆ่าอากรอากรแสตมป์ด้วย

 

 


ผ่อนชำระปกติ หรือ เลื่อนจ่ายต้นและดอกอันไหนดีกว่ากัน ??

   ในช่วงสถานการณ์โควิดแบบนี้ ก็มีหลายธนาคารมีนโยบายการผ่อนชำระ สำหรับลูกหนี้  ไม่ว่าจะเป็นการผ่อนชำระปกติ หรือ การเลื่อนจ่ายต้นและดอกออกไป
ผู้ประกอบการหลายท่านก็อาจจะสงสัย ว่าเลือกแบบไหนดี??

ตัวอย่าง : เรามีเงินกู้กับธนาคารอยู่ 1,000,000 บาท  เราผ่อนปกติเดือนละ 10,000 บาท   เงินต้น 4,000 บาท  ดอกเบี้ย 6,000 บาท  

 

กรณีที่1 ผ่อนชำระแบบปกติ  

ยอดเงินกู้ 1,000,000 บาท ผ่านไป 6 เดือน  เงินต้นจะลดลง 24,000  บาท คงเหลือ 976,000  บาท

ข้อดี :

1.เงินต้นลดลง

2.สามารถเจรจาขอลดดอกเบี้ยได้ 

 

กรณีที่2 จ่ายดอกเบี้ยแต่ขอเลื่อนการจ่ายเงินต้น 

ยอดเงินกู้ 1,000,000 บาท ผ่านไป 6 เดือน  เงินต้นจะไม่ลดลง คงเหลือ 1,000,000  บาท

 

กรณีที่3 ขอเลื่อนการจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้น

ยอดเงินกู้ 1,000,000 บาท ผ่านไป 6 เดือน  เงินต้นจะไม่ลดลง คงเหลือ 1,000,000  บาท และมีดอกเบี้ยค้างจ่าย 36,000 บาท  รวมทั้งหมดคงเหลือ 1,036,000 บาท

 

กรณที่2 และ กรณที่3 มีข้อดี 

1. มีเงินเหลือเพื่อใช้จ่ายค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในกิจการ เช่น เงินเดือนพนักงาน 

2. ไม่เสียประวัติและไม่ถือเป็นการผิดนัดชำระหนี้

 

 

 


3 เคล็ดลับวิชาตัวเบาที่ทำให้กิจการไปต่อได้ในสถานการณ์วิกฤต

 

 

 

จากผลพวงของวิกฤต covid เราหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะบอกว่า ผลกระทบของวิกฤตนี้แผ่วงกว้างไปมากกระทบกระเทือนกับทุกหย่อมหญ้า โดยเฉพาะกับธุรกิจ ทั้ง size ใหญ่ เล็ก  

ถึงแม้ว่า ในอีกไม่ช้า รัฐบาลอาจเริ่มผ่อนคลายมาตรการ lock down อย่างที่เราพอจะทราบกัน และนักวิชาการหลายๆคนก็ออกมาบอกว่า ถึงแม้ว่าจะปลด lockdown แล้ว

แต่ผลกระทบทางธุรกิจ ก็น่าจะยังคงเห็นอยู่อีกหลายเดือน หรือเป็นปีๆ

 

ดังนั้น เมื่อรายได้ที่เคยเข้ามาประจำ หยุดชะงักลง หรือลดลงไปจากเดิมอย่างมาก  สิ่งที่บริษัทจะกลับมา focus คือ ค่าใช้จ่ายของกิจการจากเดิมที่เจ้าของกิจการหลายๆท่านได้

เคยดูๆกันอยู่บ้างแล้วแต่ในช่วงสถานการณ์นี้ ยิ่งต้องดูแลกันใกล้ชิดเป็นพิเศษสำหรับธุรกิจ ที่ไม่ได้ถูก drive ด้วยเงินที่ไปกู้ยืมมา อาจจะยังสามารถพยุงตัวเองไปได้ในทางกลับกัน

ถ้าเป็นธุรกิจ ที่เดินไปด้วยเงินหมุน เงินกู้ อันนี้ อาจจะเครียดหนัก

 

การจัดการเรื่องเงินกู้ของกิจการ 

1.เอาสินทรัพย์ ไปปิดหนี้สิน

มีสินทรัพย์ไหน ที่สามารถไปปิดหนี้สินที่มีอยู่ได้ เช่นมีเงินฝากธนาคาร เอาไปปิด OD ที่มีอยู่หรือ ในหลายๆกิจการ ก็เอาสินค้า (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ที่มีอยู่) ออกมาขาย online

หรือ มีตึก หรือ อสังหาริมทรัพย์ ก็ปล่อยออกมาขาย เพื่อเพิ่มกระแสเงินสดและหากกิจการไหน มีหนี้อยู่ ก็สามารถเอาไปลดภาระ 

จะว่าไป ช่วงนี้เราอาจคิดว่า เศรษฐกิจไม่ดีขายอะไรๆ ก็ไม่ได้แต่อย่าลืมนะคะ ว่าคนที่มีเงินเก็บอยู่ พร้อมรอช้อนของถูกก็มีอยู่มากถ้าเราสามารถขายได้ แ

ละเอาไปปิดหนี้ที่มีอยู่ ก็จะทำให้เราตัวเบาลงได้ค่ะ

 

2. จัดลำดับ ต้นทุนของหนี้ แต่ละก้อน 

กรณีที่มีหนี้สิน หลายก้อน เช่น มีทั้งกู้ด้วยตั๋ว PN /กู้ OD /เงินกู้ยืมระยะสั้น /เงินกู้ยืมระยะยาวที่ต้องผ่อนชำระเป็นรายเดือนเราต้องเอาอัตราดอกเบี้ย (ที่ update ล่าสุด)

มาเรียงลำดับ ว่าหนี้ก้อนไหน มีอัตราดอกเบี้ยที่สูง ไล่มา จนถึงก้อนที่มีดอกเบี้ยต่ำสุดซึ่งถ้าก้อนที่มีดอกเบี้ยต่ำสุด เรายังมีวงเงินเหลืออยู่ เราก็จัดการเอา ส่วนที่เหลืออยู่

ไปปิดหนี้ก้อนที่มีดอกแพงๆ 

สิ่งที่สำคัญสำหรับเรื่องนี้ ก็คือเราจะต้อง update อัตราดอกเบี้ยของ แต่ละที่เรากู้เพราะ อัตรา MOR MLR และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อื่นๆ

มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย โดยเฉพาะในช่วงเวลานี้ ที่มักจะมีการลดอัตราดอกเบี้ย ดังนั้นขอให้ติดตามข่าวสาร เข้า website ของธนาคารนั้นๆเพื่อ update

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของแต่ละธนาคาร

 

3.  เจรจา กับเจ้าหนี้แต่ละราย

ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้การค้า หรือ เจ้าหนี้ bank สำหรับเจ้าหนี้ bank เราก็จะคุยเพื่อผ่อนปรน หรือลดอัตราดอกเบี้ย หรือแม้กระทั่ง ยืดเวลาในการชำระหนี้ออกไป ซึ่งตอนนี้

หลายๆกิจการ ก็กำลังทำอยู่  เจ้าหนี้อีกกลุ่มนึงที่สำคัญ เช่นกัน คือ เจ้าหนี้การค้า ถ้าหากกิจการสามารถพูดคุย กับเจ้าหนี้การค้า หรือเจ้าหนี้อื่นของกิจการ

เพื่อยืดระยะเวลาการชำระหนี้ออกไป (โดยไม่มีดอกเบี้ย) เท่ากับเรากู้เงินโดยไม่มีดอกเบี้ย ถูกกว่าดอกเบี้ย bank อีก

ซึ่งจะทำให้กิจการ สามารถประหยัดต้นทุนในการกู้หนี้ยืมสิน มาเพื่อจ่ายชำระเจ้าหนี้การค้า หรือเจ้าหนี้อื่นๆออกไปได้